top of page
รูปภาพนักเขียนinthira mahawong

การวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม “HACCP” ข้อ 7-13

อัปเดตเมื่อ 26 ต.ค. 2566

6. ระบุอัตราย วิเคราะห์อันตราย เพื่อระบุอันตรายที่มีนัยสำคัญ พิจารณามาตรการควบคุม

ระบุอันตรานยทุกชนิดที่อาขเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนจะต้องประเมินความมีนัยสำคัญของอันตรายโดย อันตรายจากขั้นตอนการผลิตชนิดของอาหารโอกาสเกิดอันตรายเมื่อมีเฉพาะ PRP และความรุนแรงต่อสุขภาพสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือที่ใช้ผลิตรวมถึงการรอดชีวิตหรือเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ การผลิตหรือความคงทนในอาหารของสารพิษ สารเคมี วัตถุกายภาพ วัตถุประสงค์การใช้หรือความน่าจะเป็นในการปฏิบัติไม่ถูกต้องของผู้บริโภค ระดับของอันตรายที่ยอมรับได้

7. การกำหนดจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม

จุดวิกฤตที่ต้องควบคุม CCP มาตรการควบคุมที่ส่งผลให้อันตรายอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ CCP อาจมีมากกว่า 1 ในการควบคุมเดียวกัน การกำหนด CCP สามารถใช้ decision tree หรือแนวทางอื่นได้ พิจารณาเฉพาะอันตารยที่มีนัยสำคัญ

8. กำหนดค่าวิกฤตของแต่ละจุดที่ต้องควบคุม

พิจารณาว่า CCP อยู่ในการควบคุมหรือไม่และแยกแล้วผลิตภัณฑ์ ที่ยอมรับได้ออกจากผลิตภัณฑ์ที่ยอมรับไม่ได้ค่าวิกฤต ควรมัดได้หรือสังเกตได้อาจมีมากกว่า 1 ค่าใน 1 ขั้นตอน เกณฑ์ที่นิยมใช้ เช่น อุณหภูมิ เวลา ความชื้น pH aw คลอรีน การพิสูจน์ยืนยันความใช้ได้ของค่าวิกฤต อาจรวมถึงงานวิจัยกฎหมายหรือแนวทางจากภาครัฐ หรือการศึกษาที่ดำเนินการโดยบุคคลที่สาม เช่นการศึกษาที่ดำเนินการโดยผู้ผลิตเครื่องมือการพิสูจน์ยืนยันความใช้ได้ของมาตรการควบคุมนั้นมีการอธิบายเพิ่มเติมใน Guidelines for the Validation of Food Safety Control Measures (CXG 69-2008)

9. กำหนดระบบการตรวจเฝ้าระวังของแต่ละจุด

- กำหนดระบบการตรวจเฝ้าระวังตรวจพบการสูญเสียจะต้องมีมาตรการควบคุม ณ CCP ได้ทันเวลา หากมีแนวโน้มการสูญเสียควบคุมต้องปรับกระบวนการก่อนการเกิดการเบี่ยงเบน

- ตรวจเฝ้าระวังต้องรวดเร็วควรต่อเนื่อง หากไม่เป็นระบบต่อเนื่องช่วงความถี่ต้องเพียงพอเพื่อประกันว่า CCP อยู่ภายใต้สภาวะควบคุม ควรใช้การตรวจหาทางกายภาพและทางเคมีวิธีการตรวจสอบทางจุลินทรีย์ไม่เหมาะ

- การประเมินผล ดำเนินการโดยผู้รับผิดชอบที่มีความรู้และอำนาจในการปฏิบัติแก้ไข

10. การกำหนดปฏิบัติการแก้ไข

กำหนดการปฏิบัติการแก้ไขจากการสูญเสียการควบคุมเฉพาะในแต่ละ CCP วินัยลักษณ์อักษร ก็ได้มีการเฝ้าระวังค่าวิกฤต เมื่อพบการเบี่ยงเบนแสดงว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตอาจไม่ปลอดภัย เช่น การจัดให้ CCP กลับสู่สภาวะควบคุม แยกผลิตภัณฑ์ที่ได้ผลกระทบ ประเมินความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์

อาจใช้ผู้เชี่ยวชาญภายนอกประเมินความปลอดภัย พิจารณาว่า ผ่านกระบวนการซ้ำ หรือเปลี่ยนไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น หรือถูกทำลาย วิเคราะห์สาเหตุของการเบี่ยงเบนเพื่อลดโอกาสเกิดซ้ำ ระบุเหตุผลการเบี่ยงเบนของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับผลกระทบอาจพิจารณาเพื่อในสภาวะที่คล้ายคลึงกันมีขั้นตอนการดำเนินงานและบันทึกผลการดำเนินงานรวมถึงสาเหตุของการเบี่ยงเบนจะต้องทบทวนการปฏิบัติการแก้ไขเป็นระยะ เพื่อระบุแนวโน้มและมั่นใจว่าการปฏิบัติ การแก้ไขมีประสิทธิผล

11. การพิสูจน์ยืนยันความใช้ได้ของแผน HACCP และขั้นตอนการดำเนินงาน การทวนสอบ

11.1 การพิสูจน์ยืนยันความใช้ได้ จะต้องมั่นใจ ว่าองค์ประกอบ ของระบบ HACCP ควบคุมอันตรายที่มีนัยสำคัญใด เช่น การระบุอันตราย การกำหนดจุดวิกฤต ค่าวิกฤต มาตรการควบคุม ความถี่และรูปแบบการเฝ้าระวัง ความถี่และรูปแบบของการทวนสอบ รูปแบบของข้อมูลที่จะบันทึก

กรณีให้ผู้เชี่ยวชาญภายนอกกำหนดค่าวิกฤตต้องมั่นใจว่าสามารถนำมาใช้กับกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ได้ ช่วงเริ่มต้นการดำเนินการ ระบบ HACCP และหลังจากกำหนดขั้นตอนการดำเนิน การทวนสอบ ควรมีหลักฐาน ว่าควบคุมได้อย่างสม่ำเสมอ เมื่อการเปลี่ยนแปลงทบทวนระบบ HACCP และพิสูจน์ยืนยันความใช้ได้ของแผน HACCP ซ้ำ

11.2 ขั้นตอนการทวนสอบ กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานการทวนสอบรวมถึง เช่น การสังเกต

การตรวจประเมินภายในและภายนอก การสอบเทียบ การสุ่มตัวอย่างและการทบทวน การทบทวนบันทึก ตรวจสอบว่า HACCP เป็นไปตามแผนที่วางไว้

12. การกำหนดวิธีการจัดทำเอกสารและการเก็บบันทึก

จัดทำขั้นตอนการดำเนินงาน HACCP เป็นเอกสารและจัดเก็บบันทึกที่เพียงพอ

ตัวอย่างเอกสารที่จัดทำ

1. องค์ประกอบของทีม HACCP

2. การวิเคราะห์อันตรายและข้อมูลสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์

3. วิธีการพิจารณา CCP

4. การกำหนดค่าวิกฤตและข้อมูลสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์

5. Validation

6. การปรับเปลี่ยนแผน

การทบทวนสอบจะต้องมีความถี่ที่เพียงพอที่จะยืนยันว่าระบบมีประสิทธิภาพ และดำเนินการตามมาตรการควบคุมการทวนสอบควรทบทวนองค์ประกอบของระบบ HACCP ว่ามีการระบุอันตรายที่มีนัยสำคัญอย่างเหมาะสม มาตรการควบคุมและค่าวิกฤตเพียงพอที่จะควบคุมอันตราย การเฝ้าระวังและกิจกรรมการทวนสอบที่เกิดขึ้นตามแผน และสามารถระบุความเบี่ยงเบนได้และการปฏิบัติการแก้ไขมีความเหมาะสม

ตัวอย่างบันทึกข้อมูล

กิจกรรมต่างๆในการตรวจเฝ้าระวัง CCP การเบี่ยงเบนวิธีการแก้ไขที่เกี่ยวข้องรวมถึงขั้นตอนการดำเนินงานการทบทวนสอบต่างๆและการเก็บรักษาบันทึกทางอิเล็กทรอนิกส์ได้

13. การฝึกอบรม

จัดทำขั้นตอนการดำเนินงานและวิธีการปฏิบัติงานรวมทั้งหน้าที่ของพนักงานที่รับผิดชอบแต่ละ CCP

- ควรกำหนดโปรแกรมการฝึกอบรมที่เหมาะสมกับความรู้และทักษะของบุคลากร

- ควรมีการทบทวนโปรแกรมการฝึกอบรมเป็นระยะและปรับปรุงเมื่อมีความจำเป็นอาจจะต้องมีการอบรมซ้ำเพื่อการปฏิบัติการแก้ไข





ดู 614 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page