มาตรฐานแรงงาน คือ กฎเกณฑ์ การปฏิบัติ การใช้แรงงานเกี่ยวกับสภาพการจ้างและสภาพการทำงาน เช่น ค่าจ้าง ชั่วโมงทำงาน วันหยุด และความปลอดภัยในการทำงาน การมีมาตรฐานแรงงาน เพื่อให้แรงงานได้รับการคุ้มครองอย่างทัดเทียมเสมอภาค ก่อให้เกิดคุณภาพชีวิต มีความปลอดภัย มีแรงงานสัมพันธ์ที่ดี และมีขวัญกำลังใจในการทำงาน
ประเภทของมาตรฐานแรงงาน
มาตรฐานแรงงานแบ่งเป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้
• มาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ คือ อนุสัญญาและข้อแนะ รวมทั้งประกาศอื่นๆ ขององค์การ
แรงงานระหว่างประเทศ (ILO)
• มาตรฐาน แรงงานตาม กฎหมาย คือ ข้อบังคับตามกฎหมาย ได้แก่ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. 2541 กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานและ พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518
• มาตรฐานแรงงานเอกชน คือ ข้อกำหนดที่ประกาศใช้โดยองค์กรพัฒนาเอกชน กลุ่มธุรกิจ และผู้ผลิตสินค้า ได้แก่ SA 8000, WRAP, SMETA, SLCP, Higg FSLM, RJC, Disney ILS ฯลฯ รวมทั้งหลักปฏิบัติของผู้ผลิตสินค้า เช่น อดีดาส ADIDAS, ไนกี้ NIKE และ วอลท์ ดิสนีย์ DISNEY, H&M ฯลฯ
มาตรฐานเหล่านี้มีความสำคัญกับโรงงานผู้ผลิตในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ซึ่งได้รับแรงผลักดันจากเจ้าของแบรนด์สินค้า และลูกค้าปลายทาง
มาตรฐานแรงงานที่สถานประกอบกิจการควรจัดทำ
1. มาตรฐานแรงงานว่าด้วยความรับผิดชอบทาง สังคม (Social Accountability 8000-SA 8000)
เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการส่งออก
2. มาตรฐานแรงงานว่าด้วยข้อปฏิบัติในสถานที่ทำงาน (Workplace Code of Conduct)
3. มาตรฐานแรงงานว่าด้วยสมาคมสิทธิคนงาน (Worker Rights Consortium Code of
Conduct) มาตรฐานแรงงานว่าด้วยหลักจรรยาบรรณของบริษัท ไนกี้ (Nike Code of Ethics), ESEP
กำหนดขึ้นโดยบริษัทในเครือไนกี้ เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการผลิตเครื่องกีฬา
4. การตรวจสอบจริยธรรมการค้าขายสำหรับสมาชิก SEDEX ที่เรียกว่า SMETA (Sedex Members Ethical
Trade) Audit
5. การทวนสอบโปรแกรมการรวบรวมข้อมูลทางด้านสังคมและแรงงาน SLCP (Social & Labour Convergence Program)
5. มาตรฐานจริยธรรมพื้นฐานทางการค้า (Ethical Trading Initiative (ETI) Standard)
(International Council of Toy Industries Code of Business Practice) (ICTI) เหมาะสม
กับอุตสาหกรรมผู้ผลิตของเล่นเด็ก
6. มาตรฐานแรงงานไทย ความรับผิดชอบทางสังคมของธุรกิจไทย มรท. 8001-2546 (Thai
Labor-Standard : TLS 8001-2546) เป็น มาตรฐานที่จัดทำโดยภาครัฐ (สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงานกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน) ร่วมกับเอกชน
ประโยชน์ของการจัดทำมาตรฐานแรงงาน
มาตรฐานแรงงาน เกี่ยวข้องกับการค้าในเวทีโลก โดยปัจจุบันกลุ่มผู้ซื้อรายใหญ่ในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ให้ความสำคัญต่อการผลิตสินค้าและบริการที่ต้องเคารพ สิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงาน โดยได้นำเรื่องมาตรฐานแรงงานมาเป็นเงื่อนไขให้ผู้ผลิตต้องปฏิบัติ หากไม่สามารถกระทำได้ จะยกเลิกสัญญาการสั่งซื้อ
การจัดทำระบบมาตรฐานแรงงานเป็นการสนับสนุนการส่งออก และยังทำให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความปลอดภัยในการทำงาน ลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน เกิดขวัญกำลังใจที่จะสร้างผลผลิตอย่างเต็มศักยภาพนอกจากนี้ การจัดทำมาตรฐานแรงงาน ทำให้มีแนวปฏิบัติในการจัดทำระบบการจัดการให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตที่จะสร้างรายได้ให้แก่ลูกจ้าง และสร้างผลกำไรให้แก่สถานประกอบกิจการ และที่สำคัญ คือ การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและสร้างความรับผิดชอบทางสังคม ซึ่งจะลดอุปสรรคและข้อกีดกันทางการค้า
ความคิดเห็น