top of page
รูปภาพนักเขียนinthira mahawong

การผลิตอาหารให้ปลอดภัย โดยบังคับใช้ GMP เป็นกฎหมาย 1/4

เกณฑ์หรือข้อกำหนดพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตและการควบคุมเพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตามเน้นการ ป้องกันและขจัดความเสี่ยงที่ทำให้อาหารเป็นพิษ เป็นอันตราย หรือทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย


มาตรการและบทลงโทษ

การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขซึ่งออกตามความในมาตรา 6 (7) แห่ง พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มีโทษตามมาตรา 49 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

ขอบข่ายการบังคับใช้ การบังคับใช้ครอบคลุมสถานที่ผลิตอาหารเพื่อจำหน่ายทุกแห่ง ยกเว้น

1. สถานที่ปรุงจำหน่ายอาหาร เช่น ร้านอาหาร โรงพยาบาล เว้นแต่ สถานที่ผลิตดังกล่าวจผลิตอาหารควบคุมเฉพาะอาหารกําหนดคุณภาพหรือมาตรฐานอาหารหรืออาหารที่ต้องมีฉลากที่มีการใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไป หรือ ใช้คนงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นป กรณีนี้ยังคงต้องปฏิบัติ ป.สธ. (ฉบับที่ 420)

2.สถานที่จำหน่ายอาหาร ณ ที่หรือทางสาธารณะ เช่น หาบเร่ รถเร่ แผงลอยจำหน่ายอาหาร

3. สถานที่ผลิตเกลือบริโภค ให้ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 เรื่อง การขอรับใบอนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหาร เพื่อจำหน่าย และประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย เกลือบริโภค

4. สถานที่คัดและบรรจุผักและผลไม้สดบางชนิด ที่กําหนดไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 386 พ.ศ. 2560 เรื่อง กําหนดวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาผักหรือผลไม้สด บางชนิด และการแสดงฉลาก ให้ปฏิบัติตามประกาศฉบับดังกล่าว


มีการปรับระดับการควบคุม GMP ของอาหาร 4 รายการ

1) น้ำแร่ธรรมชาติ

2) น้ำแข็งบริโภค ยกระดับบังคับใช้ GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ ในข้อกำหนดเฉพาะ 1 ของ GMP 420

3) นมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอไรซ์ ลดระดับการควบคุมจากการบังคับใช้ GMP 298 ซึ่งเป็นGMP เฉพาะ ผลิตภัณฑ์ มาบังคับใช้ ข้อกำหนดพื้นฐานของ GMP 420

4) อาหารทั่วไปที่ไม่ได้บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่ายจากเดิมไม่เข้าข่ายการบังคับใช้ GMP 342 ปัจจุบันต้อง ปฏิบัติตามข้อกำหนดพื้นฐานของ GMP 420



ดู 273 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

टिप्पणियां


bottom of page