มาตรฐาน ISO 9001 ฉบับปรับปรุงใหม่ ซึ่งได้มีการเพิ่มเติมประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) คาดว่าจะเผยแพร่อย่างเป็นทางการภายในปี 2567 (ค.ศ. 2024) เป็นต้นไป
วัตถุประสงค์การปรับปรุง:
การปรับปรุงมาตรฐานครั้งนี้มุ่งเน้นให้กระบวนการจัดการคุณภาพรองรับและตอบสนองต่อความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ องค์กรต้องพิจารณาความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องรวมถึงการปรับตัวระยะยาวตามมาตรฐานใหม่ที่กำหนด เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงานที่ยั่งยืนในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
ชี้เเจงประเด็นคำถาม:
คำถาม: องค์กรต้องแสดงหลักฐานการพิจารณาตามข้อ 4.1 คือหลักฐานอะไรบ้าง
คำตอบ: ต้องวิเคราะห์บริบทองค์กร: ยกตัวอย่าง:
จุดเเข็ง:
ตลาดใหม่: การเพิ่มขึ้นของการใช้พลังงานสะอาดและการพัฒนาเทคโนโลยีสีเขียวทำให้เกิดความต้องการอุปกรณ์ไฟฟ้าที่รองรับพลังงานหมุนเวียนและประหยัดพลังงาน
นวัตกรรม: กระตุ้นให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ พลังงานและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
สนับสนุนการลงทุน: การสนับสนุนจากรัฐบาลและองค์กรต่างๆ สำหรับการลงทุนใน โครงการที่เกี่ยวข้องกับการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
จุดอ่อน:
ผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน: สภาพอากาศที่รุนแรง เช่น น้ำท่วม พายุ หรือความแห้งแล้ง อาจทำให้การจัดส่งวัตถุดิบและชิ้นส่วนที่จำเป็นสำหรับการผลิตชะงักงัน
ผลกระทบต่อการดำเนินงาน:อุณหภูมิที่สูงขึ้นอาจทำให้เครื่องจักรทำงานหนักขึ้นและต้องการการบำรุงรักษาบ่อยขึ้น ซึ่งอาจเพิ่มต้นทุนการดำเนินงาน
ผลกระทบต่อการใช้พลังงาน: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานสูงขึ้น เช่น การใช้พลังงานในระบบทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศที่เพิ่มขึ้นในสภาวะอากาศร้อน
โอกาส:
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่: การออกแบบและผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในด้านการใช้พลังงาน หรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้พลังงานทดแทน
การเข้าสู่ตลาดใหม่: การตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและโซลูชันพลังงานสะอาด
การปรับปรุงกระบวนการผลิต: การเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตเพื่อลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
อุปสรรค:
กฎหมาย: กฎระเบียบใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น
ด้านชื่อเสียง: ผลกระทบหากบริษัทไม่สามารถตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องความยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
ความเสี่ยงด้านทรัพยากร: การขาดแคลนวัตถุดิบหรือพลังงานที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
หมายเหตุ: การพิจารณา Climate Change ในบริบทองค์กร จะต้องสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์คุณภาพ และทิศทางนโยบายขององค์กรร่วมด้วย
ยกตัวอย่าง: ต้องวิเคราะห์วัตถุประสงค์คุณภาพ:
เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน: ลดการใช้พลังงานของผลิตภัณฑ์ลง 15-25% ต่อหน่วย
ปฏิบัติตามกฎระเบียบ: บรรลุข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมด 100% ตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
ยกตัวอย่าง: ต้องวิเคราะห์ทิศทางเชิงกลยุทธ์ (นโยบายคุณภาพ)
"มุ่งมั่นสู่การพัฒนานวัตกรรมและกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการใช้พลังงานสะอาดและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูง ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และส่งเสริมความยั่งยืนของโลก"
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คำถาม: ในข้อนี้องค์กรต้องแสดงรายชื่อหลักฐานต่างๆ ระบุอ้างอิงไว้ใน “บัญชีรายชื่อและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” ด้วยหรือไม่
คำตอบ: การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร ข้อ 4.2 จะต้องเเสดงหลักฐานในส่วนการตอบสนองความ ต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ยกตัวอย่าง ดังนี้:
ลูกค้า:
ความต้องการ: ต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและมีประสิทธิภาพพลังงานสูง
การตอบสนองความต้องการขององค์กร: พัฒนาและเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ใช้พลังงานสะอาดหรือมีการรีไซเคิลง่าย
หลักฐานขององค์กร: เช่น
1. ใบรับรองด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ENERGY STAR, EcoLabel
2. รายงานการทดสอบประสิทธิภาพพลังงาน
3. ข้อมูลผลิตภัณฑ์ ระบุคุณสมบัติการใช้พลังงานสะอาดและการรีไซเคิล
4. เอกสารทางการตลาด ที่แสดงข้อดีด้านสิ่งแวดล้อม
ชุมชน:
ความต้องการ: ต้องการลดผลกระทบจากกิจกรรมขององค์กรที่ส่งผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
การตอบสนองความต้องการขององค์กร: มีการดำเนินการและกิจกรรมที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การลดมลพิษและการสนับสนุนโครงการท้องถิ่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
หลักฐานขององค์กร: เช่น
1. รายงานความยั่งยืน: แสดงผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
2. โครงการชุมชน: เอกสารการสนับสนุนกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
3. ใบรับรองสิ่งแวดล้อม: เช่น การรับรองการใช้พลังงานสะอาดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คำถาม: องค์กรไม่พบการเข้าข่ายที่จะต้องดำเนินการเพื่อจัดการกับความเสี่ยงและโอกาส ด้าน Climate Change
คำตอบ: องค์กรจะต้องมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงเเละโอกาสพร้อมด้วยมาตราการตอบโต้ความเสี่ยงด้าน Climate Change ร่วมด้วย ยกตัวอย่าง ดังนี้:
ความเสี่ยง:
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: กระบวนการผลิต
ผลกระทบ: ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น น้ำท่วมและพายุ อาจทำลายโรงงานและห่วงโซ่อุปทาน
มาตรการตอบโต้: การวางแผนฉุกเฉินและการสร้างระบบป้องกันภัย
2. ผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน: กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
ผลกระทบ: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจส่งผลกระทบต่อการจัดหาวัตถุดิบ
มาตรการตอบโต้: การกระจายแหล่งจัดหาวัตถุดิบและการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่น
โอกาส:
การพัฒนาเทคโนโลยีสีเขียว:
โอกาส: การพัฒนาและเสนอผลิตภัณฑ์ที่ใช้พลังงานสะอาดและมีประสิทธิภาพ
มาตรการตอบโต้: การลงทุนใน R&D และการตลาดผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2. การสนับสนุนจากรัฐบาล:
โอกาส: การได้รับการสนับสนุนทางการเงินและแรงจูงใจจากนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
มาตรการตอบโต้: การใช้ประโยชน์จากสิทธิประโยชน์และทุนสนับสนุนจากรัฐบาล
หมายเหตุ: ต้องมีการวิเคราะห์ความเสี่ยง เเละโอกาส พร้อมด้วยมาตราการตอบโต้ความเสี่ยง
ในทุกกระบวนการ เช่น ผลิต จัดซื้อ ขาย ควบคุมคุณภาพ เเละฝ่ายงานอื่นๆ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ส่วนสำคัญ
การยกตัวอย่างข้างต้นเป็นเพียงการชี้แจงเพื่อประกอบการพิจารณาในกระบวนการวิเคราะห์ขององค์กรตามมาตรฐาน ISO 9001 ฉบับปรับปรุงใหม่ ซึ่งได้เพิ่มเติมประเด็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ดังนั้น องค์กรต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับมาตรฐานดังกล่าว