การตรวจพินิจลักษณะภายนอกของผลทุเรียนแก่จะมีลักษณะดังนี้
1. ขั้วผลแข็งและสีเข้มกว่าปกติ เมื่อสัมผัสผิวขั้วผลจะรู้สึกสากมือบริเวณรอยต่อระหว่างขั้วผลกับก้านผลซึ้งเรียกว่าปลิงมีลักษณะบวมใหญ่ขึ้น
2. ปลายหนามแห้งสีน้ำตาล ร่องโคนหนามห่าง เมื่อบีบปลายหนามเข้าหากันจะรู้สึกว่ามีความยืดยุ่นมาก
3. สังเกตเห็นรอยโคนหนามทุเรียนเป็นแนวยาวสีน้ำตาลบริเวณกลางพูได้ชัดขึ้น ยกเว้นพันธุ์ก้านยาว
4. สีเปลือกจะเปลี่ยนจากสีเขียวสดเป็นสีเขียวปนน้ำตาลหรือสีเขียวแกมเทา
การชักตัวอย่างเพื่อตรวจวิเคราะห์น้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียน
การเตรียมรุ่นสำหรับการชักตัวอย่างผลทุเรียนที่รับเข้าแต่ละครั้งประกอบด้วยผลทุเรียนจากหลายรุ่นที่ระบุมาจากผู้ผลิตหลายรายให้พิจารณาแต่ละรุ่นแยกกัน
ตารางปริมาณตัวอย่างที่ต้องเก็บเพื่อรวมเป็นตัวอย่างบัลก์
น้ำหนักของรุ่น (kg) | น้ำหนักรวมทั้งหมดของตัวอย่างขั้นต้น (kg) |
สูงสุด 200 | 10 |
201-500 | 20 |
501-1000 | 30 |
1001-5000 | 60 |
มากกว่า 5000 | 100 (ขั้นต่ำ) |
หมายเหตุ : ในกรณีผลทุเรียนขนาดใหญ่มากกว่า 2 kg ตัวอย่างขั้นต้นต้องประกอบด้วยอย่างน้อย 5ผล
ISO 874-1980. Fresh fruits and vegetables — Sampling.
การเตรียมตัวอย่างบัลก์หรือตัวอย่างลดขนาด
เนื่องจากการตรวจวิเคราะห์น้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียนเป็นการตรวจสอบแบบทำลาย จึงเตรียมตัวอย่างลดขนาด โดยลดขนาดตัวอย่างบัลก์ โดยพิจารณาเลือกผลทุเรียนที่มีความเสี่ยงว่ามีความแก่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานด้วยการตรวจพินิจลักษณะภายนอกของผลทุเรียนตามวิธีการขั้นต้น
ชักทุเรียนจำนวน 2 ผลจากนั้นนำตังอย่างจำนวน 1 ผลไปตรวจวิเคราะห์หาน้ำหนักแห้งของทุเรียน (ส่วนที่เหลือ 1 ผลเก็บไว้ตรวจวิเคราะห์เพิ่มเติมในกรณีผลทุเรียนลูกแรกน้อยกว่าเกณฑ์)
วิธีการตรวจสอบผลทุเรียนแก่
โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ 2 วิธี
1. วิธีวิเคราะห์น้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียนโดยใช้ตู้อบรมร้อน
นำตัวอย่างผลทุเรียนมาผ่าแนวขวาง ความหนาชิ้นละ 2.5 cm ตัดเอาเนื้อจากทุเรียนทุกพูมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ขนาด 1mmx1mmx5mm คลุกเคล้าให้เข้ากันใส่ภาชนะ 10g ต่อผล
ใส่ภาชนะให้สม่ำเสมอ นำไปอบแห้งโดยใช้ตู้อบรมร้อนที่อุณหภูมิ 70 องศาเป็นเวลา 48ชั่วโมงจนน้ำหนักคงที่
คำนวณหาเปอร์เซ็นน้ำหนักเนื้อแห้งจากสูตรคำนวณ
DM (%) = m2x100
m1
เมื่อ DM คือ น้ำหนักเนื้อแห้ง เป็นเปอร์เซ็นต์
m1 คือ น้ำหนักก่อนอบ เป็น g
m2 คือ น้ำหนักหลังอบ เป็น g
2. วิธีวิเคราะห์น้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียนโดยใช้ไมโครเวฟ
นำตัวอย่างผลทุเรียนมาผ่าแนวขวาง ความหนาชิ้นละ 2.5 cm ตัดเอาเนื้อจากทุเรียนทุกพูมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆขนาด 1mmx1mmx5mm คลุกเคล้าให้เข้ากันหรือใช้เครื่องบดสุ่มชั่งเนื้อทุเรียนใส่ภาชนะ 10g ต่อผล
(กรณีใช้จานกระดาษเป็นภาชนะให้นำไปอบเพื่อไล่ความชื้นโดยใช้ตู้อบไมโครเวฟก่อน จนกว่าน้ำหนักจานกระดาษคงที่ กรณใช้แก้วไม่ต้องอบเพื่อไล่ความชื้น)
ใส่ภาชนะให้สม่ำเสมอ นำไปอบแห้งโดยใช้ตู้อบไมโครเวฟที่ระดับต่ำ (low level) ครั้งละ 2-3 นาทีจนน้ำหนักคงที่ (เนื้อทุเรียนต้องไม่ไหม้)
เกณฑ์การกำหนดน้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียนสำหรับแต่ละพันธุ์
พันธุ์ทุเรียน | น้ำหนัก |
หมอนทอง | 32% |
กระดุมทอง | 27% |
ชะนี | 30% |
พวงมณี | 30% |
การประเมินความแก่และคุณภาพทุเรียน
1. ดูจำนวนวันหลังการผสมเกสร
- กระดุมทอง 90-100 วัน
- ชะนี 110-120 วัน
- ก้านยาว 120-127 วัน
- หมอนทอง 120-127 วัน
2. หรือดูผลร่วงหรือ
3. ซิมน้ำที่ก้านผล
4. การเคาะเพื่อฟังเสียงผลทุเรียน
5. ดูลักษณะผล ร่องหนามแยกมีสีน้ำตาล ปลายหนามแห้งฐานหนามกว้างแบนมีก้านแข็ง
มกษ. 3-2546 มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง ทุเรียน
Comentários