มาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ กำหนดหลักปฎิบัติในการตรวจรับทุเรียนสำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุ เพื่อให้ได้ผลทุเรียนที่แก่ตามข้อกำหนดมาตรฐานสำหรับจำหน่าย ส่งออก และนำเข้า
ขอบข่ายการบังคับใช้มาตรฐาน
- ผู้ผลิต เช่น โรงรวบรวมหรือโรงคัดบรรจุจะต้องใช้มาตรฐานบังคับนี้ภายใน 1 ปีนับแต่วันประกาศใบราชกิจจานุเบกษา
- ผู้ส่งออก คือ ผู้ส่งออกทุเรียนผลสดที่ใช้สินค้าที่รอลงผลิต และ ผู้ส่งออกทุเรียนผลสดที่ใช้สินค้าจากผู้ผลิตอื่น
- ผู้นำเข้า คือ ผู้นำเข้าทุเรียนผลสด
แต่มาตรฐานนี้ไม่บังคับใช้กับ
- การตรวจและรับผลทุเรียนเพื่อการผลิตทุเรียนตัดแต่งพร้อมบริโภคตาม มกษ. 9039 มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตผักและผลไม้สดตัดแต่งพร้อมบริโภค
- การตรวจและรับผลทุเรียนเพื่อการผลิตทุเรียนแช่เยือกแข็ง ตามมกษ. 9046 มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่องการปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตทุเรียนแช่เยือกแข็ง เนื่องจากได้มีการกำหนดให้ตรวจสอบความแก่ของทุเรียนไว้ในข้อกำหนดการรับวัตถุดิบแล้ว (บังคับใช้เฉพาะส่งออก)
- การรับวัตถุดิบของโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุหรือที่ใช้สำหรับการแปรรูปไม่อยู่ในขอบข่ายการบังคับใช้
- แผงค้าปลีกไม่ได้อยู่ในขอบข่ายที่บังคับใช้
มกษ. 9046 มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่องการปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตทุเรียนแช่เยือกแข็ง
มกษ. 9039 มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตผักและผลไม้สดตัดแต่งพร้อมบริโภค
ข้อกำหนดหลักปฏิบัติในการตรวจและรับทุเรียนจำนวน 3 ข้อหลักๆ
1. การตรวจและรับทุเรียน
- ตรวจหลักฐานแสดงการจัดการแหล่าที่ปลูกผลทุเรียนทุกรุ่นต้อมมีข้อมูลแสดงว่ามาจากแหล่งปลูก
- ตรวจลักษณะภายนอกของผลทุเรียนแก่
- ตรวจวิเคราะห์น้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียน
2. การฝึกอบรม
2.1 ผู้ควบคุมการเก็บเกี่ยว
- ต้องไปรับการฝึกอบรมและผ่านการทดสอบ เรื่องการเก็บเกี่ยวผลทุเรียนแก่หรือได้รับการประเมินความสามารถโดยโรงรวบรวมหรือโรงคัดบรรจุ
- ต้องไปรับการฝึกอบรมและผ่านการทดสอบ เรื่องการเก็บเกี่ยวผลทุเรียนแก่จากหน่อยงานภาครัฐหรือหน่วยงานภาครัฐที่ให้ความเห็นชอบ
2.2 ตรวจสอบความแก่ของทุเรียน และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและรับผลทุเรียน
- ผู้ตรวจสอบความแก่ของทุเรียน ต้องไปรับการฝึกอบรมและผ่านการทดสอบ เรื่องการเก็บเกี่ยวผลทุเรียนแก่จากหน่อยงานภาครัฐหรือหน่วยงานภาครัฐที่ให้ความเห็นชอบและมีหลักฐานการทดสอบ
- ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและรับผลทุเรียน โดยตรงหรือโดยอ้อมซึ่งต้องได้รับการฝึกอบรมหรือประเมินผลสัมฤทธิ์ของการฝึกอบรมเป็นระยะๆอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี
- หัวข้อหลักสูตรต้องครอบคลุม เช่น เทคนิคการตรวจพินิจลักษณะของผลทุเรียนแก่ และเทคนิคการตรวจวิเคราะห์น้ำหนักแห้งของทุเรียน
3. การบันทึกข้อมูลเพื่อการตรวจสอบ
- ต้องจัดทำแบบบันทึกเอกสารข้อมูล ได้แก่ วันที่รับผลทุเรียน แหล่งที่มา ชื่อสายพันธุ์ บริเวณที่รับ ผลการตรวจพินิจลักษณะภายนอกของผลทุเรียน หลักฐานการจัดการเกณฑ์ที่ไม่ผ่าน ผลการตรวจวิเคราะห์น้ำหนักแห้ง หลักฐานบันทึกการฝึกอบรม
- เก็บรักษาข้อมูลการบันทึกเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี
มกษ. 3-2556 ทุเรียน
มกษ. 9035-2563 การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด
มกษ. 9047-2560 2563 การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรวบรวมผักและผลไม้สด
Комментарии