top of page
รูปภาพนักเขียนinthira mahawong

ระบบวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมและแนวทางการนำไปใช้ มกษ. 9024-2564 ฉบับที่ 2

อัปเดตเมื่อ 11 ต.ค. 2566



1. หลักการของระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) System)

2. แนวทางการนำระบบ HACCP ไปใช้

3. การนำไปใช้ (12 ขั้นตอน ในการนาระบบ HACCP ไปใช้)

  • ภาคผนวก ก ลำดับขั้นตอนและตัวอย่างแผนภาพการตัดสินใจ ภาพที่ ก.1 ลำดับขั้นตอนในการนา HACCP ไปใช้ ภาพที่ ก.2 ตัวอย่างแผนภูมิการตัดสินใจเพื่อใช้กาหนดCCP (ใช้กับแต่ละขั้นตอนที่ระบุว่ามีอันตรายที่มีนัยสำคัญ) ภาพที่ ก.3 การกำหนด CCP (ใช้กับแต่ละขั้นตอนที่ระบุว่ามีอันตรายที่มีนัยสำคัญ)

  • ภาคผนวก ข ตัวอย่างแบบฟอร์ม แผนภาพ ข.1 ตัวอย่างแบบฟอร์มการวิเคราะห์อันตราย แผนภาพ ข.2 ตัวอย่างแบบฟอร์ม HACCP

ปรับเปลี่ยนข้อความในข้อ 3.7 กำหนดจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (ขั้นที่ 7/ หลักการที่ 2)

  • ให้ผู้ประกอบการอาหารพิจารณาว่ามาตรการควบคุมใดที่ได้จาก ขั้นที่ 6/หลักการที่ 1 นำไปใช้ ณ CCPs ได้ทั้งนี้ จะกำหนดเป็น CCPs ก็ต่อเมื่อเป็นอันตรายที่มีนัยสำคัญจากผลการวิเคราะห์อันตรายเท่านั้น

  • การใช้แผนภูมิการตัดสินใจ (ภาพที่ ก.2) หรือการกำหนด CCP (ภาพที่ ก.3) สามารถช่วยในการพิจารณาว่ามาตรการควบคุมในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งเป็น CCP สำหรับระบบ HACCP หรือไม่

  • การระบุ CCPs โดยใช้แผนภูมิการตัดสินใจหรือแนวทางอื่น ให้พิจารณาดังต่อไปนี้ 1) ประเมินว่ามาตรการควบคุมสามารถใช้ที่ขั้นตอนการผลิตที่วิเคราะห์อยู่หรือไม่ ก)หากมาตรการควบคุมไม่สามารถใช้ที่ขั้นตอนที่วิเคราะห์อยู่นี้ได้ขั้นตอนนี้ไม่ควรเป็นCCPs สำหรับอันตรายที่มีนัยสำคัญ ข)หากมาตรการควบคุมสามารถใช้ที่ขั้นตอนที่วิเคราะห์อยู่นี้ได้แต่ยังสามารถใช้ที่ขั้นตอนหลังจากนี้ หรือมีมาตรการควบคุมอื่นสำหรับอันตรายนี้ที่ขั้นตอนอื่นอีกด้วย ขั้นตอนนี้ไม่เป็น CCPs

  • 2) พิจารณาว่ามาตรการควบคุมที่ขั้นตอนนี้ใช้ร่วมกับมาตรการควบคุมในขั้นตอนอื่นเพื่อควบคุมอันตรายเดียวกันหรือไม่ หากใช้ร่วมกัน ขั้นตอนทั้งสองเป็น CCPs

ปรับเปลี่ยนแผนภูมิลำดับขั้นตอนและตัวอย่างแผนภาพการตัดสินใจในภาคผนวก ก









ดู 1,202 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comentários


bottom of page